วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาษาทางคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม

ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล (compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ต่อไป ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ส่วนมากเขียนด้วยภาษาระดับสูง แปลไปเป็นออบเจกต์โค้ด (object code) แล้วเปลี่ยนให้เป็นชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง

ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งกลุ่มได้เป็นอีกสองประเภทคือ ภาษาที่มนุษย์อ่านออก (human-readable) และภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออก (non human-readable) ภาษาที่มนุษย์อ่านออกถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจและสื่อสารได้โดยตรงกับคอมพิวเตอร์ (แทบทุกชนิดเป็นภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออกจะมีโค้ดบางส่วนที่ไม่อาจอ่านเข้าใจได้ แต่ออกแบบมาเพื่อให้โค้ดกระชับซึ่งคอมพิวเตอร์จะสามารถประมวลผลได้ง่ายกว่า

ตัวอย่างภาษาทางคอมพิวเตอร์

ภาษาโปรแกรม คือภาษาประดิษฐ์ที่สามารถใช้ควบคุมกำหนดพฤติกรรมการทำงานของเครื่องจักรได้ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมก็เหมือนภาษามนุษย์ที่จะต้องใช้วากยสัมพันธ์ (syntax) และความหมาย (semantic) เพื่อกำหนดโครงสร้างและตีความหมายตามลำดับ ภาษาโปรแกรมช่วยให้การสื่อสารในภารกิจสารสนเทศสะดวกมากขึ้นและถูกต้องแม่นยำตามขั้นตอนวิธี (algorithm) ในโลกนี้มีภาษาโปรแกรมมากกว่า 8,500 ภาษาที่แตกต่างกันไป และก็ยังมีภาษาใหม่เกิดขึ้นทุกๆ ปี ผู้ที่ใช้งานภาษาโปรแกรมเพื่อเขียนโปรแกรมเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ (programmer)

ลักษณะของภาษาโปรแกรม

ภาษาโปรแกรมแต่ละภาษาสามารถพิจารณาว่าเป็นเซตของข้อกำหนดอย่างเป็นทางการของวากยสัมพันธ์ ศัพท์ และความหมาย

ข้อกำหนดเหล่านี้มักรวมถึง

ข้อมูล และโครงสร้างข้อมูล

คำสั่ง และลำดับการทำงาน

ปรัชญาในการออกแบบ

สถาปัตยกรรมของภาษา

ภาษาส่วนใหญ่ที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง หรือมีการใช้งานในระยะเวลาพอสมควร จะมีกลุ่มทำงานเพื่อสร้างมาตรฐาน ซึ่งมักจะมีการพบปะกันเป็นระยะๆ เพื่อสร้างและจัดพิมพ์นิยามอย่างเป็นทางการของภาษา รวมถึงการปรับปรุงเพิ่มเติมภาษาด้วย

ชนิดข้อมูล

การจัดเก็บข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้น ภายในแล้วจะเก็บเป็นตัวเลขศูนย์และหนึ่ง (เลขฐานสอง) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลมักถูกแทนสารสนเทศในชีวิตประจำวันเช่น ชื่อบุคคล เลขบัญชี หรือผลการวัด ดังนั้นข้อมูลแบบฐานสองจะถูกจัดการโดยภาษาโปรแกรม เพื่อทำให้รองรับการจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนขึ้นเหล่านี้

ระบบที่ข้อมูลถูกจัดการภายในโปรแกรมเรียกว่าชนิดข้อมูลของภาษาโปรแกรม การออกแบบและศึกษาเกี่ยวกชนิดข้อมูลเรียกว่าทฤษฎีชนิด ภาษาโปรแกรมสามารถจัดออกได้เป็นกลุ่มภาษาที่มี การจัดชนิดแบบสถิตย์ และภาษาที่มี การจัดชนิดแบบพลวัติความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Introduction to Computer)

คอมพิวเตอร์คืออะไร

คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือทางอิเล็คทรอนิคส์ ที่ช่วยผ่อนแรงงานทางด้านสมอง ให้กับมนุษย์

ขนาดของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแบ่งออกเป็น 3 ขนาดคือ

1. Main Frame Computer (เมนเฟรมคอมพิวเตอร์) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ จุข้อมูลได้มาก ใช้กับธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ หรือ ทั่วโลก ประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งข้อมูลแบบออนไลน์ (On-Line) ราคาแพงมาก (ประมาณ 100 ล้านบาทขึ้นไป) ธุรกิจในประเทศไทย ที่ใช้เครื่อง Main Frame Computer ได้แก่ ธนาคาร , สายการบิน , ตลาดหุ้น เป็นต้น

2. Mini Computer (มินิคอมพิวเตอร์) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง ใช้กับธุรกิจขนาดกลาง เช่น ตามบริษัท , โรงพยาบาล , โรงเรียน , มหาวิทยาลัย ที่มีการออนไลน์ ภายในตัวอาคาร ไม่ไกลมากนัก ราคาเครื่องจะประมาณ 1 ล้านบาทขึ้นไป

3. Micro Computer (ไมโครคอมพิวเตอร์) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครื่อง PC (Personal Computer) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็ก ใช้เฉพาะ บุคคล (1 คน ต่อ 1 เครื่อง) ราคาถูก ประมาณเครื่องล่ะ 10,000 บาท ขึ้นไป ในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก เกือบทุกธุรกิจ เพราะราคาถูก หาซื้อง่าย และประสิทธิภาพก็ใกล้เคียงกับเครื่องรุ่นใหญ่ สบาย ๆ ในปัจจุบัน ยังมีเครื่องขนาดเล็กอีก คือ เครื่องกระเป๋าหิ้ว หรือที่เรียกว่า Note Book , Lab Top และเครื่องขนาดกระเป๋าเสื้อ หรือ ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่อง ปาลม์ Palm

องค์ประกอบและภาษาคอมพิวเตอร์

โดยทั่วไปการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานต่าง ๆ นั้น ถ้าเฉพาะตัวเครื่องและอุปกรณ์หรือ "ฮาร์ดแวร์" นั้น จะไม่สามารถทำงานได้ เพราะเครื่องยังไม่มีสิ่งที่จะมาจัดการหรือควบคุมระบบต่าง ๆ ดังนั้นจึงต้องมีโปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบและใช้งาน ซึ่งเราเรียกว่า "ซอฟต์แวร์" แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจเราจึงต้อง พึ่งพาบุคลากร หรือ
"พีเพิลแวร์" มาสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ดังนั้นสรุปได้ว่าองค์ประกอบที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้นั้น ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ พีเพิลแวร์ และข้อมูล ดังรายละเอียดดังนี้

2. ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์

2.1 ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software-OS) หมายถึง ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ

2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึงโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ
ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนชอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น

3. ข้อมูล (Data)
ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์การ ข้อมูลต้องมี โครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภา
4. บุคลากร หรือพีเพิลแวร์ (People ware)
บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม
เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์การที่มีความซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์ โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไปดังนี้

1. ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้น ๆ เช่น พิมพ์งาน ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้

2. ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter or Technician) หมายถึงผู้คอยดูแลตรวจสอบสภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิค การดูแล รักษา การซ่อมแซม การต่อเชื่อม ตลอดจนการใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ค่อนข้างดี

3. ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามที่ผู้ออกแบบ และวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่าง ๆ ได้ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นเอาไปใช้

4. ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis) หมายถึงผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่า องค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสมุด เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรแกรมเมืองทำงานในส่วนต่อไป

5. ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager or Administrator) คือ ผู้ที่มีหน้าที่บริหาร และดูแลทรัพยาการทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อสร้างงานต่าง ๆ

ภาษาคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ ภาษาระดับต่ำ (low-language) และภาษาระดับสูง (high-level language)

1. ภาษาระดับต่ำ (low-language) ภาษาระดับต่ำเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์แต่ละ

ระบบ แบ่งเป็น

1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาต่ำสุดของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเลข 0 และเลข 1 ที่นำมาเขียนเรียงติดต่อกัน ประโยคคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนที่ระบุให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไร เช่น สั่งให้ทำการบวกเลข สั่งให้ทำการเคลื่อนย้ายข้อมูล เป็นต้น และอีกส่วนเพื่อบอกแหล่งข้อมูลที่จะนำมาทำงานตามที่ระบุในตอนแรก

การเขียนโปรแกรม หรือชุดคำสั่งด้วยภาษาเครื่อง นับเป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่สะดวกและเสียเวลา เพราะผู้ใช้จะต้องทราบรหัสแทนการทำงานต่าง ๆ และต้องรู้ขั้นตอนการทำงานภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเอียด ถ้าใช้คำสั่งไม่ถูกต้องเกิดการผิดพลาด โอกาสที่จะเข้าไปทำการแก้ไขก็ทำได้ยากและเสียเวลามาก มนุษย์จึงพยายามคิดภาษาให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ด้วยการสร้างภาษาระดับต่ำในเวลาต่อมา

1.2 ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) ลักษณะของภาษานี้จะเป็นการใช้ตัวอักษรมาเรียงกันเป็นคำ แทนเลขฐานสอง โดยคำที่กำหนดขึ้นจะมีความหมายที่สามารถเข้าใจและจำได้ง่าย เช่น จะใช้คำสั่ง ADD แทนการบวก คำสั่ง SUB แทนการลบ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ส่วนที่ใช้บอกแหล่งข้อมูลก็จะแทนด้วยชุดของตัวอักษรที่เรียกว่าตัวแปร เช่น คำสั่ง ADD A,B จะหมายถึงให้นำข้อมูลที่ตำแหน่ง A และตำแหน่ง B มาบวกรวมกัน แล้วนำผลลัพธ์ไปเก็บที่ตำแหน่ง A เป็นต้น

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสแซมบลี ถึงแม้ว่าจะง่ายและเสียเวลาน้อยกว่าการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเครื่อง แต่มีข้อเสียคือผู้ใช้จะต้องเรียนรู้โครงสร้างของระบบเครื่องนั้นอย่างละเอียด เพราะภาษาแอสแซมบลีเป็นภาษาที่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ จะใช้กับเครื่องระบบนั้น ถ้าใช้เครื่องต่างระบบที่มีตัวประมวลผลต่างกัน จะต้องเรียนรู้โครงสร้างภายในและชุดคำสั่งสำหรับเครื่องนั้นใหม่ทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและไม่สะดวก

3. ภาษาระดับสูง (High-level Language)

ภาษาระดับสูง การพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา จึงพยายามให้เป็นภาษาที่สามารถนำไปใช้กับเครื่องต่างระบบกัน ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด โปรแกรมที่เขียนสั่งงานกับเครื่องระบบหนึ่ง ก็สามารถนำไปใช้หรือดัดแปลงเพียงเล็กน้อยเพื่อสั่งงานกับเครื่องอีกระบบหนึ่งได้ ลักษณะของภาษาจะพยายามให้ใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติมากขึ้น ทำให้เราสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ภาษาในยุคหลังนี้ เรียกว่า ภาษาระดับสูง ซึ่งได้มีการคิดค้นพัฒนาออกมาหลายภาษาด้วยกัน ที่เด่น ๆ และนิยมกันมาก ได้แก่

3.1 ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN- FORmula TRANslator) เป็นภาษาที่เก่าแก่ของโลกเหมาะกับงานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ใช้ในงานค้นคว้าวิจัยและวิเคราะห์ปัญหาต่างทางวิทยาศาสตร์

3.2 ภาษาโคบอล (COBOL-Common Business Oriented Language) เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานด้านธุรกิจ ที่มีข้อมูลจำนวนมากๆ หรืองานด้านการจัดการฐานข้อมูล แต่ไม่เหมาะสำหรับงานด้านคำนวณ

3.3 ภาษาเบสิก (BASIC- Beginner's All purpose Symbolic Instruction) เป็นภาที่พัฒนาขึ้นมา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็ต้องมีความรู้เรื่องระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และผู้เริ่มศึกษาภาษาคอมพิวเตอร์

3.4 ภาษาปาสคาล (PASCAL) เป็นภาษาที่ใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรมได้ดีที่สุด เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อการเรียนการสอน

3.5 ภาษาซี (C) เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมในการเขียนโปรแกรมการทำงานขนาดใหญ่ และใช้ในการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ด้วยตัวแปลภาษา

เมื่อเราเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงแล้ว จะนำไปสั่งงานคอมพิวเตอร์โดยตรงยังไม่ได้ จะต้องผ่านขั้นตอนการแปลภาษาอีก เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเพียงภาษาเดียวคือ ภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีตัวแปลภาษา เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โดยแบ่งได้เป็น2 แบบ คือ

1. คอมไพเลอร์ (compiler) เป็นตัวแปลโปรแกรมต้นฉบับ ให้เป็นภาษาเครื่อง โดยขณะที่ทำการแปลเมื่อมีข้อผิดพลาด คอมพิวเตอร์จะแจ้งมาให้ทราบ เมื่อแปลโปรแกรมเสร็จสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลเรียบร้อยแล้วไปใช้งานได้ โดยไม่ต้องมาคอมไพล์ใหม่ ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้ตัวแปลภาษานี้ เช่น ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล ภาษาซี เป็นต้น

2. อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) เป็นตัวแปลโปกรมต้นฉบับให้เป็นภาษาเครื่อง โดยทำการแปลที่ละคำสั่งให้เป้ฯภาษาเครื่อง แล้วนำคำสั่งนั้นไปประมวลผลทันที หลังจากนั้นก็จะรับคำสั่งถัดไป ตัวอย่างของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวแปลภาษาแบบนี้ เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างตัวแปลภาษาทั้ง 2 ตัว คือ ลักษณะของการแปลภาษาของอินเตอร์พรีเตอร์จะแปลและสั่งเครื่องให้ทำงานตามคำสั่ง ทันทีทีละคำสั่งจนจบโปรแกรม แต่การแปลภาษาด้วยคอมไพเลอร์จะเป็นการแปลทุกคำสั่งที่อยู่ในโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องเก็บไว้เป็นแฟ้มก่อน การเรียกทำงานจะเป็นการนำแฟ้มภาษาเครื่องมาทำงานทีเดียว ดังนั้นการทำงานด้วยตัวแปลแบบคอมไพเลอร์จึงทำงานได้รวดเร็วและนิยมกันมากในปัจจุบัน
ประเภทของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างงานในชีวิตประจำวัน
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์
มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน สมารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software)